- Details
- Category: -กิจกรรมเพื่อสังคม
- Published: Saturday, 14 October 2017 14:49
ส่งเสริมปีการท่องเที่ยว ‘61’ ได้หรือไม่! เมื่อชมรมรถตู้บริการนักท่องเที่ยวทั่วไทยประสบปัญหาในข้อจำกัด 11 ตุลาคม 2560 ที่ห้องประชุมราชนครินทร์ ชั้น 5 อาคาร 100 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี สมาพันธ์ผู้ประกอบการรถตู้แห่งประเทศไทย จัดประชุมหารือแก้ไขปัญหาร่วมกันในการ ปี 2561 รัฐบาลส่งเสริมเป็นปีท่องเที่ยว จัดว่าเป็นการส่งเสริมสร้างรายได้ให้แก่ประเทศไทยเป็นหลักก็ว่าได้ นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ต่างให้ความสนใจเดินทางท่องเที่ยวซึ่งได้รับความนิยมอยู่ในอันดับต้น ๆ อยู่แล้ว โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวต่างชาติที่กลับมาเที่ยวประเทศไทยมากขึ้น แต่ถ้าการเดินทางท่องเที่ยวในระหว่างอยู่ในประเทศ ประสบปัญหาด้านรถโดยสารบริการในแต่ละจังหวัด จะมีผลกระทบต่อระยะเวลาการเดินทางหรือไม่ เพราะในแต่ละจังหวัด แต่ละภาคมีช่วงฤดูกาลที่เป็นแรงดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างกัน |
|
นายวุฒิภัทร คงมั่น ประธานสมาพันธ์รถตู้แห่งประเทศไทย กล่าวว่า “เป็นเรื่องที่น่าเศร้าใจ สำหรับการที่ภาครัฐจะมีนโยบายให้ผู้ประกอบการรถตู้ปรับเปลี่ยนไปเป็นมินิบัส โดยที่ไม่ให้ความสำคัญหรือไม่สนใจที่จะตรวจสอบข้อเท็จจริงกับผู้ประกอบการเลยว่าเรามีผลกระทบมากน้อยแค่ไหน รถตู้เปรียบเสมือนจิตวิญญาณของพวกเราที่ร่วมกันดำเนินการมากว่า 20 – 30 ปี แต่ดูเหมือนเราไม่มีตัวตนอยู่ในประเทศนี้เลย ทั้ง ๆ พวกเราเองเป็นส่วนหนึ่งที่สร้างเศรษฐกิจ สร้างรายได้ให้แก่ประเทศชาติ พี่น้องประชาชนทั้งหมดไม่น้อยเลย เราเองก็เป็นส่วนหนึ่งที่ขับเคลื่อนนำนักท่องเที่ยวทั้งภายในประเทศและต่างประเทศได้มาท่องเที่ยวได้ทั่วทั้งประเทศ สร้างงานกระจายรายได้ไปทั่วทุกหัวระแหง ส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวให้เติบโตได้ไม่น้อย แต่เมื่อองค์กรภาครัฐเอง มามองว่าผู้ประกอบการรถตู้ที่เราทำอยู่ไม่ได้มาตรฐาน เมื่อเทียบกันแล้วกับรถใหญ่ซึ่งมีอัตราการประสบอุบัติเหตุสูงกว่ารถตู้อย่างเรามาก การออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อควบคุมการเดินของรถตู้ |
![]() |
ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการเป็นจำนวนมาก เมื่อก่อนรถตู้ได้จอดบริการในจุดต่าง ๆ ได้แล่น ได้ใช้งานสร้างรายได้ สร้างอาชีพ แต่ปัจจุบัน กลับต้องไปจอดอยู่ที่ไฟแนนซ์เพราะไม่สามารถออกดำเนินการได้เหมือนดังเคย เนื่องจากด้วยกฎหมายที่ออกมาควบคุมมากมาย ปัญหาครอบครัวเริ่มตามมา ปัญหาเศรษฐกิจเริ่มตามมาอย่างต่อเนื่อง” การแก้ปัญหาที่ไม่ถูกทิศถูกทาง ราคารถตู้ 1 ล้านกว่าบาท แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นรถไมโครบัส ด้วยราคา 2 – 3 ล้านกว่าบาท จะมีใครแบกภาระตรงนี้ได้ เมื่อก่อนเคยจอดที่อนุสาวรีย์ แต่ปัจจุบันเมื่อมีการจัดระเบียบสังคมต้องไปจอดที่ ขนส่ง รายได้ก็ลดลง ในฐานะสมาพันธ์ผู้ประกอบการรถตู้ประเทศไทย อยากให้ท่านผู้เกี่ยวข้อง ได้ลองมาสอบถามข้อเท็จจริงดู รวมถึงพี่น้องประชาชนที่ใช้บริการรถตู้ว่า ยังมีความต้องการใช้รถตู้อีกบ้างหรือเปล่า ดร.ตวง อันทะไชย ประธานกรรมาธิการการศึกษาและการกีฬาสภานิติบัญญัติแห่งชาติ กล่าวว่า ปัจจุบันกฎหมายไม่ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของโลก การคมนาคม การขนส่งเปลี่ยนไปหมด ทางเลือกของประชาชนในการเดินทางเข้าเมือง หรือออกไปยังต่างจังหวัดต่าง ๆ ด้วยรูปแบบที่มีให้เลือกอย่าง รถตู้ รถไฟความเร็วสูง เครื่องบินโลวคอส ประเด็นสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ คือ (ในปี 2522) อาจจะตอบโจทย์สมัยนั้นได้ แต่ด้วยค่านิยม สังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ วิถีการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไป ใครจะเชื่อว่า ปัจจุบันผู้โดยสารมีทางเลือกในการโดยสารไม่เหมือนเดิม ด้วยเหตุและปัจจัยการเดินทางที่มีให้เลือกหลากหลายตามความเหมาะสม ในมุมมองของผม ถ้ากฎหมายที่ใช้อยู่มีอุปสรรคต่อการปฏิรูปประเทศ ด้วยวิถีชีวิตของสังคมเปลี่ยนไปจึงควรได้รับการแก้ไข รถตู้ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ประมาณ 200,000 กว่าคัน ถ้าผู้ประกอบการรถตู้เองยังสามารถดำเนินการต่อไปได้ด้วยในรูปแบบความต้องการสมัครใจเพื่อรักษาสภาพเศรษฐกิจ รายได้ในการเลี้ยงครอบครัวให้ดำรงอยู่ได้โดยไม่ลำบาก อันนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญ ซึ่งน่าจะตรงต่อนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้ประชาชนมีรายได้ มีอาชีพพึ่งพาตนเองได้อยู่แล้ว |
|
นายชวลิต พันมูล รองประธานชมรมรถตู้จังหวัดเชียงใหม่ภาคเหนือ กล่าวถึงปัญหาที่ประสบอยู่ว่า “ในพื้นที่ทางภาคเหนือที่เราให้บริการอยู่มีสภาพเป็นภูเขา ในเรื่องอัตราความเร็วเป็น ปัญหาหนึ่งสำหรับเรา วอนทางภาครัฐช่วยผ่อนปรนเรื่องอัตราความเร็วให้เราบ้าง การจำกัดความเร็วที่ 90 กม./ชม.นั้น มันไม่สามารถทำเวลาได้ อย่างน้อยถ้าได้ ปรับเป็น 100 – 110 ก็ยังดี เพราะในการแล่นลงจากเขามันลำบากมาก และยิ่งระยะเวลาเป็นตัวกำหนด ในการเดินทางเพียง 10 ชม.นั้นกับเครื่องรถยนต์รุ่นใหม่ 3000 cc. ถ้าจำกัดความเร็วจะกินน้ำมันมาก ผู้ใช้บริการจึงหันไปใช้รถประเภทป้ายดำ หรือป้ายฟ้าที่ทำความเร็วได้กันหมด ในขณะที่เราเสียภาษี ประกัน ครบถูกต้องตามที่รัฐบาลกำหนดทุกอย่าง 17 จังหวัดทางภาคเหนือประสบปัญหาเดือดร้อนกันหมด กับมาตรการ ที่กำหนดมา 1 มกราคม 2561 นี้ จับจริง ปรับจริง คงต้องขายรถทิ้งกันแน่นอน วอนขอความเป็นธรรมให้กับเราบ้าง” นายปัญญา เลิศหงิม ประธานกลุ่มรถตู้พัฒนา หมวด 1 ขสมก. กล่าวว่า “รถตู้ในกลุ่มหมวด 1 , 2 , 3 และ 4 นั้น มีระบบการจัดการที่แตกต่างกันไป แต่เมื่อมีแนวทางนโยบายให้รถตู้ปรับเปลี่ยนเป็นรถมินิบัสหรือไมโครบัส แน่นอนจะมีผลกระทบต่อผู้ประกอบการรถตู้ในบางหมวดของเราในระยะเวลาอันใกล้นี้ เนื่องจากมีต้นทุนที่สูง ขอให้เป็นไปในทิศทางการสมัครใจมากกว่า ปัญหาเดิมที่ประสบอยู่อย่างเรื่องที่นั่ง จาก 15 ที่นั่งปรับลดเหลือ 13 ที่นั่ง ส่งผลต่อรายได้กับเรามาแล้วถึง 20,000 /เดือน ไม่เพียงเกิดปัญหาแก่ผู้ประกอบการรถตู้แต่ส่งผลถึงผู้โดยสารที่ต้องการเร่งด่วนในการเดินทางอีกด้วย นายสุรศิลป์ สายแวว ประธานรถตู้ภาคกลาง กล่าวว่า “อยากฝากถึงภาครัฐช่วยทบทวนเรื่องกฎหมายควบคุมความเร็ว เนื่องจากเราให้บริการในต่างจังหวัด ผู้โดยสารต้องเดินทางเข้าทำงานในกรุงเทพฯ จึงไม่สอดคล้องกับความต้องการในการใช้เวลากรณีเร่งด่วนระยะทางเข้ากรุงเทพฯ การจำกัดความเร็วจึงมีผลต้องใช้เวลาถึง 3.5 ชั่วโมงโดยเฉลี่ย ผู้โดยสารยังต้องต่อรถไฟฟ้า หรือรถโดยสารประจำทางเข้าสู่ชาญเมืองรอบนอกต่ออีก จึงมีปัญหาอย่างมาก นายคมกฤช มากมูลผล ผู้ประกอบการรถบัส กล่าวว่า “ ปัจจุบันผู้โดยสารมีการปรับเปลี่ยนการเดินทางกลับภูมิลำเนาด้วยการกลับพร้อมกันด้วยรถยนต์ส่วนตัว โดยเฉลี่ยค่าน้ำมันร่วมกัน ส่งผลต่อผู้ประกอบการรถโดยสารอย่างเราเป็นอย่างมากพออยู่แล้ว ถึงแม้เราจะเป็นรถบัสที่อยู่กันคนละมุม แต่ก็มีผลกระทบเรื่องความเร็วกับระยะทางที่ไม่สามารถสู้กับรถยนต์ขนาดเล็กได้ รวมถึงผู้โดยสารที่มีจำนวนลดลงเมื่อเลือกการเดินทางด้วยพาหนะที่สะดวกและคล่องตัวกว่า ประชาชนก็หันไปซื้อรถยนต์ส่วนตัวมาใช้ น่าจะส่งผลกับปัญหาจราจรเพิ่มขึ้นอีก” |
|
นายชัยยะ มีมาก ประธานสมาพันธ์สาย 36 รถตู้ บขส. ภาคตะวันออก กล่าวถึงปัญหาหลักที่เป็นอยู่ในปัจจุบันคือ เรื่องการขยายเวลารถเป็น 14 ปี เพื่อให้ผู้ประกอบการรถตู้เขาอยู่ได้บ้าง เพื่อรายได้ครอบครัวให้มีพอเลี้ยงชีพไม่เป็นหนี้สิน รวมถึงนโยบายการปรับเปลี่ยนรถตู้เป็นมินิบัส หรือไมโครบัสให้เป็นภาคสมัครใจของผู้ประกอบการ เนื่องจากมีต้นทุนที่สูงมาก ปัจจุบันยังมีภาระหนี้สินในการดูแลรถตู้ที่มีอยู่ จึงขอฝากให้ภาครัฐช่วยพิจารณาเห็นใจเราบ้าง นายวุฒิภัทร กล่าวเพิ่มเติมว่า “เราอยากให้ภาครัฐมองเห็นว่า ความเป็นรถตู้ของเราก็ยังสามารถทำงานได้ ขอให้เป็นภาคสมัครใจได้หรือไม่ ถ้าจะให้ปรับเปลี่ยนไปเป็นรถไมโครบัส ในบางครั้งใน 1 เส้นทาง มีผู้โดยสารเพียง 2 – 3 คน ซึ่งจะมีต้นทุนที่สูงมากเมื่อเทียบกับการนำรถขนาดใหญ่มาให้บริการ แต่ถ้าบางเส้นทางอาจจะมีผู้ใช้บริการที่มากถึงมีความต้องการใช้รถขนาดใหญ่ถึง 2 ชั้นด้วยซ้ำ นั่นหมายถึงขอให้เป็นภาคการสมัครใจแก่ผู้ประกอบการที่จะเลือกขนาดรถมาให้บริการ จึงขอฝากไปยังรัฐบาลด้วยว่า ให้ช่วยพิจารณาคำนึงถึงความเดือดร้อนของผู้ประกอบการรถตู้อย่างเราด้วย” |